วันพุธที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

อักษรไทย

อักษรไทย


พ่อขุนรามคำแหง
            อักษรไทย เป็นอักษรที่ใช้เขียนภาษาไทย และภาษากลุ่มน้อยอื่น ๆ ในประเทศไทยมีพยัญชนะ 44 รูป สระ 21 รูป วรรณยุกต์ 4 รูป และเครื่องหมายอื่น ๆ อีกจำนวนหนึ่ง พยัญชนะไทยจะเรียงตัวไปตามแนวนอน จากซ้ายไปขวา ส่วนสระจะอยู่หน้า บน ล่าง และหลังพยัญชนะประกอบคำแล้วแต่ชนิดของสร
            อักษรไทยไม่มีการแยกอักษรตัวใหญ่หรืออักษรตัวเล็กอย่างอักษรโรมัน และไม่มีการเว้นวรรคระหว่างคำ เมื่อจบหนึ่งประโยคจะลงท้ายด้วยการเว้นวรรค กับมีเครื่องหมายวรรคตอนจำนวนหนึ่ง
            ภาษาไทยมีตัวเลขเป็นของตัวเอง แต่นิยมใช้เลขอารบิกเป็นส่วนใหญ่ในชีวิตประจำวัน
            ราว พ.ศ. 400 ไทยได้อพยพจากถิ่นเดิมมาตั้งภูมิลำเนาอยู่ใกล้อาณาเขตมอญ ซึ่งกำลังเป็นชาติที่เจริญรุ่งเรืองในสมัยนั้น เริ่มแรกคงเริ่มเลียนแบบตัวอักษรมาจากมอญ ต่อมาราว พ.ศ. 1500 เมื่อขอมขยายอำนาจเข้ามาในดินแดนของคนไทยซึ่งตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำยม และได้ปกครองเมืองเชลียงและเมืองสุโขทัย ไทยก็เริ่มดัดแปลงอักษรที่มีอยู่เดิมให้คล้ายกับอักษรขอมหวัด
            อักษรมอญและอักษรขอมที่เรานำมาดัดแปลงใช้นั้นล้วนแปลงรูปมาจากอักษรในกลุ่มอักษรพราหมี ของพวกพราหมณ์ ซึ่งรับแบบมาจากอักษรฟินิเชียอีกชั้นหนึ่ง อักษรเฟนีเซียนับได้ว่าเป็นอักษรที่เก่าแก่ที่สุด และเป็นแม่แบบตัวอักษรของชาติต่าง ๆ ทั้งในเอเชียและยุโรป
หลักศิลาจารึก

            วิวัฒนาการ
            ราว พ.ศ. 1826 พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงประดิษฐ์อักษรไทยที่เรียกกันว่า "ลายสือไทย" ขึ้น ซึ่งได้เค้ารูปจากอักษรอินเดียฝ่ายใต้ รวมทั้งอักษรมอญและเขมรที่มีอยู่เดิม (ซึ่งต่างก็ถ่ายแบบมาจากอักษรอินเดียฝ่ายใต้ทั้งสิ้น) ทำให้อักษรไทยมีลักษณะคล้ายคลึงกับอักษรทั้งสาม แม้บางตัวจะไม่คล้ายกัน แต่ก็สามารถรู้ได้ว่าดัดแปลงมาจากอักษรตัวไหน
            อักษรไทยมีการปรับปรุงอยู่เรื่อย ๆ ในสมัยพญาฦๅไทราว พ.ศ. 1900 มีการแก้ไขตัวอักษรให้ผิดเพี้ยนไปบ้างเล็กน้อย โดยเฉพาะการเพิ่มเชิงที่ตัว  ซึ่งใช้ติดต่อเรื่อยมาจนทุกวันนี้ คาดว่าน่าจะเอาอย่างมาจากเขมร ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ราว พ.ศ. 2223 ตัวอักษรเริ่มมีทรวดทรงดีขึ้นแต่ก็ไม่ทิ้งเค้าเดิม มีบางตัวเท่านั้นที่แก้ไขผิดไปจากเดิม คือตัว  และ  ซึ่งเหมือนกับที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน นักวิชาการจำนวนหนึ่งเชื่อว่าในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตัวอักษรและการใช้งานมีความคล้ายคลึงกับในปัจจุบันมากที่สุด

            ตัวอักษรไทยปัจจุบัน
            ตัวอักษรไทยที่ใช้อยู่ปัจจุบันนี้ แบ่งตามลักษณะเด่นของเส้นอักษรได้เป็น ๒ ประเภท คือ  ประเภทตัวเหลี่ยม และประเภทตัวมน
            ๑ประเภทตัวเหลี่ยม  มีลักษณะเด่นคือ เส้นตัวอักษรส่วนใหญ่เป็นเส้นตรง
ตัวอักษร แบบตัวเหลี่ยม ได้แก่
                  ๑.๑  ตัวอักษรแบบอาลักษณ์   ใช้เป็นแบบตัวอักษรที่สวยงาม  ใช้เขียนในเอกสารพิเศษต่าง ๆ เช่น ประกาศนียบัตร  ปริญญาบัตร  ฯลฯ  แผนกอาลักษณ์   กองประกาศิต สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ใช้เป็นแบบของทางราชการ
                  ๑.๒   ตัวอักษรแบบพระยาผดุงวิทยาเสริม  เป็นแบบหัดอ่านที่พระยาผดุงวิทยาเสริมเขียนในแบบหัดอ่านหนังสือไทยภาคต้นแบบหัดอ่าน  ก ข ก กา  และหนังสือหัดอ่านเบื้องต้น  ซึ่งพิมพ์เมื่อ พ.. ๒๔๗๑  ๒๔๗๓ และ ๒๔๗๖ ตามลำดับ  ในการเขียนการอ่านอักษรไทยแต่ละครั้ง ได้ใช้เป็นแบบฝึกเขียนหรือคัดลายมือพร้อมกันไปด้วย
                  ๑.๓  ตัวอักษรแบบโรงเรียนทุ่งมหาเมฆ   มีลักษณะคล้ายแบบของพระยาผดุงวิทยาเสริม ซึ่งอาจารย์สูริน สุพรรณรัตน์  อาจารย์ใหญ่ท่านแรกของโรงเรียน ได้นำลายมือของบิดา คือ อาจารย์มงคล สุพรรณรัตน์ อาจารย์ใหญ่โรงเรียนสุพมาศพิทยาคม (ตรอกวัดราชนัดดา กรุงเทพฯให้อาจารย์พูนสุข นีลวัฒนานนท์ (บุณย์สวัสดิ์) จัดทำเป็นแบบคัดลายมือของโรงเรียนตั้งแต่ พ.. ๒๕๐๙
                  ๑.๔   ตัวอักษรแบบโรงเรียนสายน้ำทิพย์   มีลักษณะคล้ายแบบของพระยาผดุงวิทยาเสริม  คณะครูโรงเรียนสายน้ำทิพย์ได้นำแบบตัวอักษรของอาจารย์มงคล สุพรรณรัตน์ มาดัดแปลงและทำแบบฝึกหัดคัดลายมือของโรงเรียน ตั้งแต่ปี พ.. ๒๕๑๐ และเมื่อปี พ.. ๒๕๑๙ ได้ดัดแปลงลักษณะตัวอักษรอีกครั้งหนึ่ง
                  .๕   ตัวอักษรแบบภาควิชาประถมศึกษา  คณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย   มีลักษณะคล้ายแบบของพระยาผดุงวิทยาเสริม เกิดขึ้นจากความคิดของ ศาสตราจารย์อำไพ  สุจริตกุล  หัวหน้าแผนกวิชาประถมศึกษา ที่ต้องการให้มีตัวอักษรของแผนกวิชาที่ง่ายต่อการฝึกเขียน และใช้เป็นแบบฝึกคัดลายมือของนิสิตทุกคน  เพื่อนำไปเป็นแบบอย่างสอนนักเรียนต่อไป
            ๒ประเภทตัวกลมหรือตัวมน   ลักษณะอักษรมีส่วนโค้งประกอบอยู่ เช่น
                  ๒.๑   ตัวอักษรแบบขุนสัมฤทธิ์วรรณการ    ตัวอักษรแบบนี้กระทรวงธรรมการ ใช้เป็นแบบฝึกคัดลายมือของนักเรียนในสมัยก่อน  มีพิมพ์เผยแพร่เป็นสมุดคัดลายมือจำหน่าย
                  ๒.๒  ตัวอักษรแบบกระทรวงศึกษาธิการ     กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการได้ดัดแปลงรูปแบบตัวอักษรของ ขุนสัมฤทธิ์วรรณการ   เพื่อทำเป็นแบบฝึกหัดคัดลายมือ  สำหรับใช้กับนักเรียนโรงเรียนตั้งแต่ปี พ.. ๒๕๒๐
                  ๒.๓  ตัวอักษรแบบราชบัณฑิตยสถาน   เป็นแบบตัวอักษรกลมที่ราชบัณฑิตยสถานกำหนดขึ้น ในปี พ.. ๒๕๔๐  เพื่อใช้เป็นแนวทางในการสร้างตัวอักษรไทยทั้งการเขียนและการพิมพ์  รวมทั้งเพื่อประโยชน์ในการออกแบบตัวอักษรไทยที่เป็นมาตรฐาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น